ฝ่ายพระราม ( มเหศรพงศ์ และ วานรพงศ์ )
ฝ่ายทศกัณฐ์ และพันธมิตร ( อสุรพงศ์)
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
รามเกียรติ์ฉบับต่างๆ ของไทย
วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย มีหลักฐานเก่าที่สุดคือราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้
- รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน เนื่องเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชา ถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่ "พระรามประชุมพล" จนถึง "องคตสื่อสาร" น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
- รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี ระบบ "วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก" ตรงกับ พ.ศ. 2323 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาล มีด้วยกัน 4 ตอน ได้แก่
- ตอน 1 ตอนพระมงกุฎ
- ตอน 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
- ตอน 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
- ตอน 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย
- รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1
- รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
- รามเกียรติ์คำพากย์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
- รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 4
- รามเกียรติ์คำพากย์และบทเจรจา พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงค้นคว้าหาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้นมา และยังทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์สำหรับใช้แสดงโขนขึ้นอีก 6 ชุด คือชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ ซึ่งบทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ทรงดำเนินเรื่องตามคัมภีร์รามายณะ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงโขนจึงมีบทพากย์และเจรจาอยู่ตามความเหมาะสมของการแสดง
กาพย์เห่เรือ
คำประพันธ์
กาพย์เห่เรือนั้น ใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ กาพย์ยานี 11 และโคลงสี่สุภาพ เรียงร้อยกันในลักษณะที่เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง โดยมักขึ้นต้นด้วยโคลง 1 บท แล้วตามด้วยกาพย์ยานี เรื่อยไป จนจบตอนหนึ่งๆ เมื่อจะขึ้นตอนใหม่ ก็จะยกโคลงสี่สุภาพมาอีกหนึ่งบท แล้วตามด้วยกาพย์จนจบตอน เช่นนี้สลับกันไป
กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกากี
สันนิษฐานกันว่ากาพย์เห่เรือ เดิมคงจะแต่งเพื่อขับเห่กันเมื่อเดินทางไกลในแม่น้ำลำคลอง แต่ในภายหลังคงมีแต่เจ้านายหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง และสุดท้ายมีใช้แต่ในกระบวนเรือของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
กาพย์เห่เรือไม่สู้จะนิยมประพันธ์กันมากนัก เนื่องจากถือเป็นคำประพันธ์สำหรับใช้ในพิธีการ คือ ในกระบวนเรือหลวง หรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ไม่นิยมใช้ในพิธีหรือสถานการณ์อื่นใด การแต่งกาพย์เห่เรือจึงมักแต่งขึ้นสำหรับที่จะใช้เห่เรือจริงๆ ซึ่งในแต่ละรัชกาล มีการเห่เรือเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
กาพย์เห่เรือนั้น ใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ กาพย์ยานี 11 และโคลงสี่สุภาพ เรียงร้อยกันในลักษณะที่เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง โดยมักขึ้นต้นด้วยโคลง 1 บท แล้วตามด้วยกาพย์ยานี เรื่อยไป จนจบตอนหนึ่งๆ เมื่อจะขึ้นตอนใหม่ ก็จะยกโคลงสี่สุภาพมาอีกหนึ่งบท แล้วตามด้วยกาพย์จนจบตอน เช่นนี้สลับกันไป
กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกากี
สันนิษฐานกันว่ากาพย์เห่เรือ เดิมคงจะแต่งเพื่อขับเห่กันเมื่อเดินทางไกลในแม่น้ำลำคลอง แต่ในภายหลังคงมีแต่เจ้านายหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง และสุดท้ายมีใช้แต่ในกระบวนเรือของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
กาพย์เห่เรือไม่สู้จะนิยมประพันธ์กันมากนัก เนื่องจากถือเป็นคำประพันธ์สำหรับใช้ในพิธีการ คือ ในกระบวนเรือหลวง หรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ไม่นิยมใช้ในพิธีหรือสถานการณ์อื่นใด การแต่งกาพย์เห่เรือจึงมักแต่งขึ้นสำหรับที่จะใช้เห่เรือจริงๆ ซึ่งในแต่ละรัชกาล มีการเห่เรือเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554
บางตอนจากสมุทรโฆษคำฉันท์
พระสมุทรโฆษและนางพินทุมดีเสด็จป่าหิมพานต์
บรรพตรจเรขประไพ | ช่องชั้นไฉไล | |
คือช่างฉลุเลขา |
วุ้งเวิ้งเพิงตระพักเสลา | หุบห้องคูหา | |
แลห้วงแลห้วยเหวลหาร |
พุน้ำชำเราะเซาะธาร | ไหลลั่นบันดาล | |
ดั่งสารพิรุณธารา |
เงื้อมง้ำโชงกชง่อนภูผา | พึงพิศโสภา | |
เปนชานเปนช่องปล่องปน |
สีสลับยยับพรรณอำพน | เหลืองหลากกาญจน | |
แลขาวคือเพชรรัศมีฯ |
เนื้อหา เรื่อง ลิลิตพระลอ
ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ
เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแม้นสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร
กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนมาว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีสวรรคต เจ้าย่าจึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์(หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก)เพื่อให้พระลอมาที่นี่แล้วให้ ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหาปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครอง ราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่า เดิมเพื่อทูลเตือนให้กลับไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันพรุ่งนี้
พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง
เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด
เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า "หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี.....ร้อยปีหรือพันปี.... ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง...ไปสู่อีปากหนึ่ง...ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน... แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึกชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่าให้อ่าบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี....บางครา....ท่านอาจเห็ใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว" หลังจากข้อความนี้ก็ได้เล่าความเป็นมาทั้งหมด
กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก
จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ
เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแม้นสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร
กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนมาว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีสวรรคต เจ้าย่าจึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์(หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก)เพื่อให้พระลอมาที่นี่แล้วให้ ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหาปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครอง ราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่า เดิมเพื่อทูลเตือนให้กลับไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันพรุ่งนี้
พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง
เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด
เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า "หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี.....ร้อยปีหรือพันปี.... ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง...ไปสู่อีปากหนึ่ง...ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน... แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึกชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่าให้อ่าบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี....บางครา....ท่านอาจเห็ใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว" หลังจากข้อความนี้ก็ได้เล่าความเป็นมาทั้งหมด
กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก
จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ
บทร้อยกรองบางตอนจากลิลิตพระลอ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง | อันใด พี่เอย |
เสียงย่อมยอยศใคร | ทั่วหล้า |
สองเขือพี่หลับใหล | ลืมตื่น ฤๅพี่ |
สองพี่คิดเองอ้า | อย่าได้ถามเผือฯ |
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554
นิราศเมืองแกลง
เนื้อหาโดยย่อ และเส้นทางการเดินทาง
ปีพ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต สุนทรภู่ซึ่งถูกจองจำอยู่เหตุจากการลอบรักใคร่กับแม่จัน จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นการถวายพระกุศล สุนทรภู่เขียนในส่วนขึ้นต้นของนิราศว่า
สุนทรภู่กับน้องทั้งสองเดินทางต่อไปอีกจนถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง ได้พบบิดาของตนซึ่งบวชเป็นพระมาตลอดนับแต่สุนทรภู่เกิด สุนทรภู่ได้ถือศีลกินเจอยู่กับบิดาพักหนึ่ง แล้วเกิดล้มป่วยเป็นไข้ ต้องพักรักษาตัวอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเดินทางกลับมาถึงพระนคร
ปีพ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต สุนทรภู่ซึ่งถูกจองจำอยู่เหตุจากการลอบรักใคร่กับแม่จัน จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นการถวายพระกุศล สุนทรภู่เขียนในส่วนขึ้นต้นของนิราศว่า
-
- จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา
- ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน
-
- จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย
- แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา
สุนทรภู่กับน้องทั้งสองเดินทางต่อไปอีกจนถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง ได้พบบิดาของตนซึ่งบวชเป็นพระมาตลอดนับแต่สุนทรภู่เกิด สุนทรภู่ได้ถือศีลกินเจอยู่กับบิดาพักหนึ่ง แล้วเกิดล้มป่วยเป็นไข้ ต้องพักรักษาตัวอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเดินทางกลับมาถึงพระนคร
พระอภัยมณี ฉบับภาษาอังกฤษ
The Story of "Phra Aphai Mani"
Friday, 09 February 2007 02:18 M.L. Manich Jumsai
Phra Aphai Mani and his brother, Sisuwan were princes who were sent to study by their father as he hoped they could use the knowledge gained to rule the country, but Phra Aphai came back with the knowledge of playing the pipe and his brother at sword-fighting. Their father was angry and drove them away. But the pipe Aphai had learned was a magic one. Its sound could put people to sleep and take the soul out of the body causing death. One day while the others were lulled tosleep by the sound of the pipe, a giant came and took Aphai away to her cave where she transformed herself into a beautiful girl. He lived with her until she bore a son, Sinsamut. When Aphai found out that his wife was really the giant, Nang Phisua Samut, he fled with his son. He was assisted by a family of mermaids, father, mother and a daughter. The father and mother were caught and eaten by the giant. The daughter took Aphai and Sinsamut to Kokaew Phitsadan (Wonder Island) where a hermit saved them from the giant. The young mermaid later bore a son with Aphai, called Sutsakhon. One day a ship went by the island. In the ship were King Silarat of Phleuk with his daughter, Princess Suwannamali. She was engaged to marry Prince Usaren of Lanka. Aphai and Sinsamut asked to go with them on the ship, but on the way the giant attacked them and killed King Silarat. Aphai escaped to the shore and had to blow the pipe which killed the giant. Sinsamut swam with the princess to an island. They continued their journey and met Sisuwan and his daughter, Arun Rasami. They went on in search of Phra Aphai. Phra Aphai met Usaren who came out looking for his fiancee, Suwannamali. They went together until they met Sinsamut and Suwannamali. She refused to go to Usaren. There was a fight, Usaren fled back to Lanka. Phra Aphai came to Phleuk where the queen asked him to rule the country. Suwannamali was still angry at Phra Aphai for daring to give her up to Usaren, so she fled to become a nun. With the trick of a maid, Nang Wali, Suwannamali left the nunhood to marry Phra Aphai. She bore him twin daughters named Soisuwan and Chantasuda. Usaren and his father came back to attack Phleuk. The father was killed and Usaren died heart-broken. The throne of Lanka fell to his sister, nang Laweng. A very beautiful Laweng decided to take revenge and she declared to all the princes in countries around that whoever could kill King Aphai would have her and her Kingdom. Nine armies moved to surround Phleuk. Aphai followed Laweng and won her love but the war continued until a hermit came and helped to stop the war between them. Information from: "History of Thai Literature" by M.L. Manich Jumsai.
You can see statues of these characters if you visit Puektian Beach in Phetchaburi Province.
You can see statues of these characters if you visit Puektian Beach in Phetchaburi Province.
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
เนื้อเพลงยาว
จบเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนายกรุงแต่เพียงเท่านี้
จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา | |
เป็นกรุงรัตนราชพระศาสนา | มหาดิเรกอันเลิศล้น |
เป็นที่ปรากฏรจนา | สรรเสริญอยุธยาทุกแห่งหน |
ทุกบุรีสีมามณฑล | จบสกลลูกค้าวาณิช |
ทุกประเทศสิบสองภาษา | ย่อมมาพึ่งกรุงศรีอยุธยาเป็นอัครนิตย์ |
ประชาราษฎร์ปราศจากภัยพิษ | ทั้งความพิกลจริตแลความทุกข์ |
ฝ่ายองค์พระบรมราชา | ครองขัณฑสีมาเป็นสุข |
ด้วยพระกฤษฎีกาทำนุก | จึ่งอยู่เย็นเป็นสุขสวัสดี |
เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ในใต้หล้า | เป็นที่อาศัยแก่เทวาทุกราศี |
ทุกนิกรนรชนมนตรี | คหบดีชีพราหมณพฤฒา |
ประดุจดั่งศาลาอาศัย | ดั่งหนึ่งร่มพระไทรอันสาขา |
ประดุจหนึ่งแม่น้ำพระคงคา | เป็นที่สิเน่หาเมื่อกันดาน |
ด้วยพระเดชเดชาอานุภาพ | อาจปราบไพรีทุกทิศาน |
ทุกประเทศเขตขัณฑ์บันดาล | แต่งเครื่องบรรณาการมานอบนบ |
กรุงศรีอยุธยานั้นสมบูรณ์ | เพิ่มพูนด้วยพระเกียรติขจรจบ |
อุดมบรมสุขทั้งแผ่นพิภพ | จนคำรบศักราชได้สองพัน |
คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย | จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น |
ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม์ | จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ |
คือเดือนดาวดินฟ้าจะอาเพศ | อุบัติเหตุเกิดทั่วทุกทิศาน |
มหาเมฆจะลุกเป็นเพลิงกาฬ | เกิดนิมิตพิศดารทุกบ้านเมือง |
พระคงคาจะแดงเดือดดั่งเลือดนก | อกแผ่นดินเป็นบ้าฟ้าจะเหลือง |
ผีป่าก็จะวิ่งเข้าสิงเมือง | ผีเมืองนั้นจะออกไปอยู่ไพร |
พระเสื้อเมืองจะเอาตัวหนี | พระกาฬกุลีจะเข้ามาเป็นไส้ |
พระธรณีจะตีอกไห้ | อกพระกาฬจะไหม้อยู่เกรียมกรม |
ในลักษณ์ทำนายไว้บ่ห่อนผิด | เมื่อวินิศพิศดูก็เห็นสม |
มิใช่เทศกาลร้อนก็ร้อนระงม | มิใช่เทศกาลลมลมก็พัด |
มิใช่เทศกาลหนาวก็หนาวพ้น | มิใช่เทศกาลฝนฝนก็อุบัติ |
ทุกต้นไม้หย่อมหญ้าสาระพัด | เกิดวิบัตินานาทั่วสากล |
เทวดาซึ่งรักษาพระศาสนา | จะรักษาแต่คนฝ่ายอกุศล |
สัปบุรุษจะแพ้แก่ทรชน | มิตรตนจะฆ่าซึ่งความรัก |
ภรรยาจะฆ่าซึ่งคุณผัว | คนชั่วจะมล้างผู้มีศักดิ์ |
ลูกศิษย์จะสู้ครูพัก | จะหาญหักผู้ใหญ่ให้เป็นน้อย |
ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอำนาจ | นักปราชญ์จะตกต่ำต้อย |
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย | น้ำเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม |
ผู้มีตระกูลจะสูญเผ่า | เพราะจันฑาลมันเข้ามาเสพสม |
ผู้มีศีลนั้นจะเสียซึ่งอารมณ์ | เพราะสมัครสมาคมด้วยมารยา |
พระมหากระษัตริย์จะเสื่อมสิงหนาท | ประเทศราชจะเสื่อมซึ่งยศถา |
อาสัตย์จะเลื่องลือชา | พระธรรมาจะตกลึกลับ |
ผู้กล้าจะเสื่อมใจหาญ | จะสาบสูญวิชาการทั้งปวงสรรพ |
ผู้มีสินจะถอยจากทรัพย์ | สัปบุรุษจะอับซึ่งน้ำใจ |
ทั้งอายุศม์จะถอยเคลื่อนจากเดือนปี | ประเวณีจะแปรปรวนตามวิสัย |
ทั้งพืชแผ่นดินจะผ่อนไป | ผลหมากรากไม้จะถอยรส |
ทั้งแพทยพรรณว่านยาก็อาเพศ | เคยเป็นคุณวิเศษก็เสื่อมหมด |
จวงจันทน์พรรณไม้อันหอมรส | จะถอยถดไปตามประเพณี |
ทั้งข้าวก็จะยากหมากจะแพง | สาระพันจะแห้งแล้งเป็นถ้วนถี่ |
จะบังเกีดทรพิษมิคสัญญี | ฝูงผีจะวิ่งเข้าปลอมคน |
กรุงประเทศราชธานี | จะเกิดการกุลีทุกแห่งหน |
จะอ้างว้างอกใจทั้งไพร่พล | จะสาละวนทั่วโลกทั้งหญิงชาย |
จะร้อนอกสมณาประชาราช | จะเกิดเข็ญเป็นอุบาทว์นั้นมากหลาย |
จะรบราฆ่าฟันกันวุ่นวาย | ฝูงคนจะล้มตายลงเป็นเบือ |
ทางน้ำก็จะแห้งเป็นทางบก | เวียงวังก็จะรกเป็นป่าเสือ |
แต่สิงห์สารสัตว์เนื้อเบื้อ | นั้นจะหลงหลอเหลือในแผ่นดิน |
ทั้งผู้คนสาระพัดสัตว์ทั้งหลาย | จะสาบสูญล้มตายเสียหมดสิ้น |
ด้วยพระกาฬจะมาผลาญแผ่นดิน | จะสูญสิ้นการณรงค์สงคราม |
กรุงศรีอยุธยาจะสูญแล้ว | จะลับรัศมีแก้วเจ้าทั้งสาม |
ไปจนคำรบปีเดือนคืนยาม | จนสิ้นนามศักราชห้าพัน |
กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข | แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์ |
จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ | นับวันจะเสื่อมสูญเอยฯ |
จบเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนายกรุงแต่เพียงเท่านี้
นางนพมาศ
เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)หรือพระร่วงเจ้าสุโขทัย จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก
ปรากฏในพงศาวดารว่า นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน นำไปถวายพระร่วงเจ้า เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้ามาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
นางนพมาศ ได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย
เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย
เช่น การประดิษฐ์ พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อว่า หนังสือ นางนพมาศ
นางนพมาศเป็นบุคคลที่ได้สมญาว่า “กวีหญิงคนแรกของไทย” ดังที่เขียนไว้ว่า “ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน ”
ปรากฏในพงศาวดารว่า นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน นำไปถวายพระร่วงเจ้า เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้ามาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
นางนพมาศ ได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการเข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย
เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย
เช่น การประดิษฐ์ พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อว่า หนังสือ นางนพมาศ
นางนพมาศเป็นบุคคลที่ได้สมญาว่า “กวีหญิงคนแรกของไทย” ดังที่เขียนไว้ว่า “ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน ”
ลักษณะคำประพันธ์และภาษา วรรณคดีเรื่องเงาะป่า
บทละครเรื่องเงาะป่านี้แต่งด้วยกลอนบทละคร ตลอดทั้งเรื่อง มีการบอกเพลงกำกับไว้ด้วย ทรงใช้ภาษาอย่างเรียบง่ายแต่มีความไพเราะ ไม่มีศัพท์สูงๆ ที่เข้าใจยากอย่างวรรณคดีทั่วไป ทว่าได้ทรงสอดแทรกคำศัพท์ภาษาก็อย (ซาไก) ไว้โดยตลอด อย่างไรก็ตาม ก่อนถึงเนื้อเรื่อง มีบัญชีศัพท์ภาษาก็อยใส่ไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถพลิกมาเปิดหาความหมายของคำศัพท์เหล่านั้นได้โดยสะดวก แต่แม้ผู้อ่านจะไม่ได้ย้อนกลับมาเปิดศัพท์ ก็คงอ่านได้รู้เรื่องโดยไม่ยาก เพราะมักทรงใช้คำศัพท์ภาษาก็อยควบคู่กับภาษาไทย ทำให้สามารถเดาความหมายภาษาก็อยได้
คำศัพท์ภาษาก็อยนี้ เดิมนั้นพระราชสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเก็บมาจากเงาะป่าคนหนึ่ง ชื่อคนัง ที่ทรงนำไปเลี้ยง ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า "ส่วนศัพท์ภาษาก็อยไล่เลียงจากอ้ายคนังทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ไล่เลียงขึ้นสำหรับหนังสือนี้ ได้ชำระกันแต่แรกมา เพื่อจะอยากรู้รูปภาษาว่ามันเป็นอย่างไร แต่คำให้การนั้นได้มากแต่เรื่องนกหนูต้นหมากรากไม้ เพราะมันยังเป็นเด็ก บางทีผู้อ่านจะเหนื่อยหน่าย ด้วยคำที่ไม่เข้าใจมีมาก จึงได้จดคำแปลศัพท์ติดไว้ในสมุดเล่มนี้ด้วย"
คำศัพท์ภาษาก็อยนี้ เดิมนั้นพระราชสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเก็บมาจากเงาะป่าคนหนึ่ง ชื่อคนัง ที่ทรงนำไปเลี้ยง ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคำนำว่า "ส่วนศัพท์ภาษาก็อยไล่เลียงจากอ้ายคนังทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ไล่เลียงขึ้นสำหรับหนังสือนี้ ได้ชำระกันแต่แรกมา เพื่อจะอยากรู้รูปภาษาว่ามันเป็นอย่างไร แต่คำให้การนั้นได้มากแต่เรื่องนกหนูต้นหมากรากไม้ เพราะมันยังเป็นเด็ก บางทีผู้อ่านจะเหนื่อยหน่าย ด้วยคำที่ไม่เข้าใจมีมาก จึงได้จดคำแปลศัพท์ติดไว้ในสมุดเล่มนี้ด้วย"
ขุนช้างขุนแผน
ที่เมืองสุพรรณบุรี
กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่ายรับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อ พลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อ นางเทพทอง มีลูกชายชื่อ ขุนช้าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด และครอบครัวของพันศรโยธา เป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ นางพิมพิลาไลย
วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้นแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมาย ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี
ทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศรโยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย
เมื่อพลายแก้วอายุได้ ๑๕ ปี ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมโกรธ ต่อมาเณรพลายแก้วก็สึกแล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกัน
ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามาราถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ห่างไกลนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้ชัยชนะ นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อนจึงยกนางลาวทองลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้ว
ส่วนนางพิมพิลาไลย เมื่อสามีจากไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใหม่ใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดูว่าพลายแก้วตายแล้วและขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฎหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรีนางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจ
ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับราชการอบรมในวังและได้มหาดเล็กเวรทั้งสองคน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่า นางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผน ขุนช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาดภรรยา สมเด็จพระพันวษาโกรธจึงสั่งให้นำตัวนางลาวทองมากักไว้ในวัง ส่วนขุนแผนให้ไปตระเวนด่านห้ามเข้าวังอีกทำให้ขุนแผนแค้นขุนช้างมากคิดช่วงชิงนางวันทองกลับคืนมา จึงออกหาของวิเศษ ๓ อย่าง คือ ดาบวิเศษ กุมารทอง และม้าฝีเท้าดี ขุนแผนเดินทางไปถึงซ่องโจรของหมื่นหาญก็สมัครเข้าเป็นสมุน วันหนึ่งได้ช่วยชีวิตหมื่นหาญให้รอดพ้นจากการถูกวัวแดงขวิดตาย หมื่นหาญจึงยกนางบัวคลี่ลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของขุนแผน ต่อมาหมื่นหาญเห็นขุนแผนมีวิชาอาคมเหนือกว่าตนก็คิดกำจัด โดยสั่งให้นางบัวคลี่วางยาพิษฆ่าขุนแผน แต่โหงพรายมาบอกให้ขุนแผนรู้ตัว คืนนั้นพอนางบัวคลี่นอนหลับ ขุนแผนก็ผ่าท้องนางควักเอาเด็กไปทำพิธีปลุกเสกเป็นกุมารทอง ต่อจากนั้นก็ทำพิธีตีดาบฟ้าฟื้นและไปซื้อม้าลักษณะดีได้ตัวหนึ่ง ชื่อ ม้าสีหมอก แล้วขุนแผนก็ไปที่บ้านของขุนช้างสะกดคนให้หลับหมดแล้วขึ้นไปบนบ้านแต่เข้าห้องผิด จึงพบนางแก้วกิริยาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็ไปปลุกนางวันทองพาขึ้นม้าหนีเข้าป่าไป ขุนช้างไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา พระองค์ให้ทหารตามจับขุนแผน แต่ถูกขุนแผนฆ่าตายไปหลายคน ขุนแผนกับนางวันทองหลบซ่อนอยู่ในป่าจนนางตั้งท้องจึงพากันออกมามอบตัวสู้คดีกับขุนช้างจนชนะคดี ขุนแผนนางวันทอง และนางแก้วกิริยาจึงอยู่ร่วมกันด้วยความสุข แต่ขุนแผนนึกถึงนางลาวทองจึงขอร้องจมื่นศรีเสาวรักษ์ให้ขอตัวนางจากสมเด็จพระพันวษาทำให้พระองค์โกรธว่าขุนแผนกำเริบจึงสั่งจำคุกขุนแผนไว้ นางแก้วกิริยาตามไปปรนนิบัติขุนแผนด้วย ส่วนนางวันทองพักอยู่ที่บ้านของหมื่นศรี ขุนช้างจึงพาพรรคพวกมาฉุดนางวันทองไปเป็นภรรยาอีก ต่อมานางก็คลอดลูกชาย แล้วตั้งชื่อให้ว่าพลายงาม ขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตนก็เกลียดชัง วันหนึ่งจึงหลอกพาเข้าไปในป่าทุบตีจนสลบแล้วเอาท่อนไม้ทับไว้ โหงพรายของขุนแผนมาช่วยได้ทัน นางวันทองจึงให้ลูกไปอยู่กับนางทองประศรีที่กาญจนบุรีพลายงามได้ร่ำเรียนวิชาของพ่อเชี่ยวชาญ ขุนแผนจึงพาไปฝากไว้กับหมื่นศรี เพื่อหาโอกาสให้เข้ารับราชการ
ทางฝ่ายพระเจ้าเชียงอินทร์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้ทหารไปชิงตัวนางสร้อยทองธิดาพระเจ้าล้านช้างระหว่างที่เดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา เพราะพระเจ้าล้านช้างต้องการเป็นไมตรีด้วยจึงส่งธิดามาถวายตัวแล้วพระเจ้าเชียงอินทร์ยังส่งหนังสือท้าทายสมเด็จพระพันวษาอีกด้วย พลายงามได้โอกาสจึงอาสาออกไปรบ และขอให้ปล่อยขุนแผนออกจากคุกด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันทำศึก ขุนแผนจึงพ้นโทษ ในขณะที่กำลังเตรียมทัพนางแก้วกิริยาก็คลอดลูกเป็นชาย ขุนแผนตั้งชื่อว่า พลายชุมพล แล้วขุนแผนกับพลายงามก็คุมทัพมุ่งสู่เชียงใหม่ ขุนแผนได้แวะเยี่ยมพระพิจิตรกับนางบุษบาซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือ เมื่อครั้งขุนแผนกับนางวันทองเข้ามอบตัว พลายงามจึงได้พบนางศรีมาลาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็คุมทัพไปรบกับเชียงใหม่ได้ชัยชนะ ครั้นกลับถึงกรุงศรีอยุธยา ขุนแผนได้เป็นพระสุรินฤาไชย เจ้าเมืองกาญจนบุรี พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถ และสมเด็จพระพันวษาก็ยกนางสร้อยฟ้าธิดาของพระเจ้าเชียงอินทร์ให้แต่งงานกับพระไวยพร้อม ๆ กับนางศรีมาลา
พระไวยนางให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงไปลักพานางวันทองมาขุนช้างเคืองมากไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงมีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามความสมัครใจของนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาหาว่านางเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต พระไวยพยายามอ้อนวอนขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามการประหารไม่ทัน
ในครอบครัวของพระไวยก็ไม่ราบรื่นนัก เพราะนางสร้อยฟ้าไม่พอใจที่พระไวยและนางทองประศรีรักนางศรีมาลามากกว่านาง จึงมักจะมีการทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอ นางสร้อยฟ้าเจ็บใจจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงรักนาง แล้วนางสร้อยฟ้าก็หาเรื่องใส่ความให้พระไวยตีนางมาลา พลายชุมพลเข้าไปห้ามก็ถูกตีไปด้วย พลายชุมพลน้อยใจจึงหนีออกจากบ้านไปหาพ่อแม่ที่กาญจนบุรีเล่าเรื่องให้ฟัง แล้วหนีต่อไปหายายที่สุโขทัย ได้บวชเณรและเล่าเรียนอยู่ที่นั้น
ฝ่ายขุนแผนรีบไปที่บ้านของพระไวย แล้วเสกกระจกมนต์ให้ดูว่าถูกทำเสน่ห์ แต่พระไวยไม่เชื่อหาว่าพ่อเล่นกลให้ดู และพูดลำเลิกบุญคุณที่ช่วยพ่อออกมาจากคุกขุนแผนแค้นมากประกาศตัดพ่อตัดลูก แล้วกลับกาญจนบุรีทันที
พลายชุมพลเรียนวิชาสำเร็จแล้วก็นัดหมายกับขุนแผนจแก้แค้นพระไวย โดยพลายชุมพลสึกจากเณรปลอมเป็นมอญ ใช้ชื่อ สมิงมัตรา ยกกองทัพหุ่นหญ้าเสกมาถึงสุพรรณบุรี สมเด็จพระพันวษา ให้ขุนแผนยกทัพไปต้านศึก ขุนแผนแกล้งแพ้ให้ถูกจับได้พระไวยจึงต้องยกทัพไปและต่อสู้กับพลายชุมพล ระหว่างที่กำลังต่อสู้กัน ขุนแผนบอกให้พลายชุมพลจับตัวพระไวยไว้ พระไวยเห็นพ่อก็ตกใจหนีกับไปฟ้องสมเด็จพระพันวษาพระองศ์จึงให้นางศรีมาลาไปรับตัวขุนแผนกับพลายชุมพลเข้าวัง พลายชุมพลอาสาจับเสน่ห์ โดยขอหมื่นศรีไปเป็นพยานด้วย พลายชุมพลจับตัวเถรขวาดกับเณรจิ๋วไว้ แล้วขุดรูปปั้นลงอาคมที่ฝั่งไส้ใต้ดินขึ้นมาได้เสน่ห์จึงคลาย ตกดึกเถรขวาดกับเณรจิ๋วสะเดาะโซ่ตรวนหนีไป ในการไต่สวนคดีนางสร้อยฟ้า ไม่ยอมรับว่าเป็นคนทำเสน่ห์ และใส่ร้ายว่านางศรีมาลาเป็นชู้กับพลายชุมพล พอนางจับได้พลายชุมพลก็หนีไปยุยงขุนแผน ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ความบริสุทธิ์โดยการลุยไฟนางสร้อยฟ้าแพ้ถูกไฟลวกจนพุพอง ส่วนนางศรีมาลาไม่เป็นอะไรเลย สมเด็จพระพันวษาสั่งประหารนางสร้อยฟ้า แต่นางศรีมาลาช่วยขออภัยโทษให้ จึงเพียงถูกเนรเทศกลับไปอยู่ที่เชียงใหม่เช่นเดิม ระหว่างเดินทางก็พบเถรขวาดกับเณรจิ๋ว จึงเดินทางไปด้วยกัน กลับถึงเชียงใหม่ได้ไม่นานกนางก็ให้กำเนิดลูกชาย ชื่อ พลายยง ส่วนนางศรีมาลาก็คลอดลูกชายเช่นกัน ขุนแผนตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร
พระเจ้าเชียงอินทร์ ตั้งเถรขวาด เป็นพระสังฆราชเพื่อตอบแทนความดีความชอบที่พานางสร้อยฟ้าที่กลับบ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย แต่เถรขวาดยังแค้นพลายชุมพล จึงเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา แปลงเป็นจระเข้อาละวาดฆ่าคนและสัตว์เลี้ยงไปมากมาย พลายชุมพลจึงอาสาออกปราบจระเข้จนสำเร็จ ไดตัวเถรขวาดมาประหารชีวิต พลายชุมพลได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงนายฤทธิ์ นับจากนั้นเป็นตนมาทุกคนก็อยู่กันอย่างมีความสุข
กล่าวถึงครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่ายรับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี มีลูกชายด้วยกันชื่อ พลายแก้ว ครอบครัวของขุนศรีวิชัย เศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก ภรรยาชื่อ นางเทพทอง มีลูกชายชื่อ ขุนช้าง ซึ่งหัวล้านมาแต่กำเนิด และครอบครัวของพันศรโยธา เป็นพ่อค้า ภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ นางพิมพิลาไลย
วันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา มีความประสงค์จะล่าควายป่า จึงสั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้นแตกตื่นไม่ยอมเข้าคอก ขุนไกรจึงใช้หอกแทงควายตายไปมากมาย ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้ข่าวรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี
ทางเมืองสุพรรณบุรี มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศรโยธาเดินทางไปค้าขายต่างเมือง พอกลับมาถึงบ้านก็เป็นไข้ป่าตาย
เมื่อพลายแก้วอายุได้ ๑๕ ปี ก็บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย ต่อมาที่วัดป่าเลไลยจัดให้มีเทศน์มหาชาติ เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมโกรธ ต่อมาเณรพลายแก้วก็สึกแล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกัน
ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามาราถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ห่างไกลนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่และได้ชัยชนะ นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้เบียดเบียนให้ชาวบ้านเดือดร้อนจึงยกนางลาวทองลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของพลายแก้ว
ส่วนนางพิมพิลาไลย เมื่อสามีจากไปทัพได้ไม่นานก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยแนะนำให้เปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงหาย ขุนช้างทำอุบายนำหม้อใหม่ใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทองดูว่าพลายแก้วตายแล้วและขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฎหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นแผนแสนสะท้าน จากนั้นก็พานางลาวทองกลับสุพรรณบุรีนางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มาด้วยก็โกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างอย่างจำใจ
ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับราชการอบรมในวังและได้มหาดเล็กเวรทั้งสองคน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่า นางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผน ขุนช้างบอกว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาดภรรยา สมเด็จพระพันวษาโกรธจึงสั่งให้นำตัวนางลาวทองมากักไว้ในวัง ส่วนขุนแผนให้ไปตระเวนด่านห้ามเข้าวังอีกทำให้ขุนแผนแค้นขุนช้างมากคิดช่วงชิงนางวันทองกลับคืนมา จึงออกหาของวิเศษ ๓ อย่าง คือ ดาบวิเศษ กุมารทอง และม้าฝีเท้าดี ขุนแผนเดินทางไปถึงซ่องโจรของหมื่นหาญก็สมัครเข้าเป็นสมุน วันหนึ่งได้ช่วยชีวิตหมื่นหาญให้รอดพ้นจากการถูกวัวแดงขวิดตาย หมื่นหาญจึงยกนางบัวคลี่ลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของขุนแผน ต่อมาหมื่นหาญเห็นขุนแผนมีวิชาอาคมเหนือกว่าตนก็คิดกำจัด โดยสั่งให้นางบัวคลี่วางยาพิษฆ่าขุนแผน แต่โหงพรายมาบอกให้ขุนแผนรู้ตัว คืนนั้นพอนางบัวคลี่นอนหลับ ขุนแผนก็ผ่าท้องนางควักเอาเด็กไปทำพิธีปลุกเสกเป็นกุมารทอง ต่อจากนั้นก็ทำพิธีตีดาบฟ้าฟื้นและไปซื้อม้าลักษณะดีได้ตัวหนึ่ง ชื่อ ม้าสีหมอก แล้วขุนแผนก็ไปที่บ้านของขุนช้างสะกดคนให้หลับหมดแล้วขึ้นไปบนบ้านแต่เข้าห้องผิด จึงพบนางแก้วกิริยาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็ไปปลุกนางวันทองพาขึ้นม้าหนีเข้าป่าไป ขุนช้างไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา พระองค์ให้ทหารตามจับขุนแผน แต่ถูกขุนแผนฆ่าตายไปหลายคน ขุนแผนกับนางวันทองหลบซ่อนอยู่ในป่าจนนางตั้งท้องจึงพากันออกมามอบตัวสู้คดีกับขุนช้างจนชนะคดี ขุนแผนนางวันทอง และนางแก้วกิริยาจึงอยู่ร่วมกันด้วยความสุข แต่ขุนแผนนึกถึงนางลาวทองจึงขอร้องจมื่นศรีเสาวรักษ์ให้ขอตัวนางจากสมเด็จพระพันวษาทำให้พระองค์โกรธว่าขุนแผนกำเริบจึงสั่งจำคุกขุนแผนไว้ นางแก้วกิริยาตามไปปรนนิบัติขุนแผนด้วย ส่วนนางวันทองพักอยู่ที่บ้านของหมื่นศรี ขุนช้างจึงพาพรรคพวกมาฉุดนางวันทองไปเป็นภรรยาอีก ต่อมานางก็คลอดลูกชาย แล้วตั้งชื่อให้ว่าพลายงาม ขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกของตนก็เกลียดชัง วันหนึ่งจึงหลอกพาเข้าไปในป่าทุบตีจนสลบแล้วเอาท่อนไม้ทับไว้ โหงพรายของขุนแผนมาช่วยได้ทัน นางวันทองจึงให้ลูกไปอยู่กับนางทองประศรีที่กาญจนบุรีพลายงามได้ร่ำเรียนวิชาของพ่อเชี่ยวชาญ ขุนแผนจึงพาไปฝากไว้กับหมื่นศรี เพื่อหาโอกาสให้เข้ารับราชการ
ทางฝ่ายพระเจ้าเชียงอินทร์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้ทหารไปชิงตัวนางสร้อยทองธิดาพระเจ้าล้านช้างระหว่างที่เดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา เพราะพระเจ้าล้านช้างต้องการเป็นไมตรีด้วยจึงส่งธิดามาถวายตัวแล้วพระเจ้าเชียงอินทร์ยังส่งหนังสือท้าทายสมเด็จพระพันวษาอีกด้วย พลายงามได้โอกาสจึงอาสาออกไปรบ และขอให้ปล่อยขุนแผนออกจากคุกด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันทำศึก ขุนแผนจึงพ้นโทษ ในขณะที่กำลังเตรียมทัพนางแก้วกิริยาก็คลอดลูกเป็นชาย ขุนแผนตั้งชื่อว่า พลายชุมพล แล้วขุนแผนกับพลายงามก็คุมทัพมุ่งสู่เชียงใหม่ ขุนแผนได้แวะเยี่ยมพระพิจิตรกับนางบุษบาซึ่งเคยให้ความช่วยเหลือ เมื่อครั้งขุนแผนกับนางวันทองเข้ามอบตัว พลายงามจึงได้พบนางศรีมาลาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็คุมทัพไปรบกับเชียงใหม่ได้ชัยชนะ ครั้นกลับถึงกรุงศรีอยุธยา ขุนแผนได้เป็นพระสุรินฤาไชย เจ้าเมืองกาญจนบุรี พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถ และสมเด็จพระพันวษาก็ยกนางสร้อยฟ้าธิดาของพระเจ้าเชียงอินทร์ให้แต่งงานกับพระไวยพร้อม ๆ กับนางศรีมาลา
พระไวยนางให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงไปลักพานางวันทองมาขุนช้างเคืองมากไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงมีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามความสมัครใจของนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาหาว่านางเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต พระไวยพยายามอ้อนวอนขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามการประหารไม่ทัน
ในครอบครัวของพระไวยก็ไม่ราบรื่นนัก เพราะนางสร้อยฟ้าไม่พอใจที่พระไวยและนางทองประศรีรักนางศรีมาลามากกว่านาง จึงมักจะมีการทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอ นางสร้อยฟ้าเจ็บใจจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงรักนาง แล้วนางสร้อยฟ้าก็หาเรื่องใส่ความให้พระไวยตีนางมาลา พลายชุมพลเข้าไปห้ามก็ถูกตีไปด้วย พลายชุมพลน้อยใจจึงหนีออกจากบ้านไปหาพ่อแม่ที่กาญจนบุรีเล่าเรื่องให้ฟัง แล้วหนีต่อไปหายายที่สุโขทัย ได้บวชเณรและเล่าเรียนอยู่ที่นั้น
ฝ่ายขุนแผนรีบไปที่บ้านของพระไวย แล้วเสกกระจกมนต์ให้ดูว่าถูกทำเสน่ห์ แต่พระไวยไม่เชื่อหาว่าพ่อเล่นกลให้ดู และพูดลำเลิกบุญคุณที่ช่วยพ่อออกมาจากคุกขุนแผนแค้นมากประกาศตัดพ่อตัดลูก แล้วกลับกาญจนบุรีทันที
พลายชุมพลเรียนวิชาสำเร็จแล้วก็นัดหมายกับขุนแผนจแก้แค้นพระไวย โดยพลายชุมพลสึกจากเณรปลอมเป็นมอญ ใช้ชื่อ สมิงมัตรา ยกกองทัพหุ่นหญ้าเสกมาถึงสุพรรณบุรี สมเด็จพระพันวษา ให้ขุนแผนยกทัพไปต้านศึก ขุนแผนแกล้งแพ้ให้ถูกจับได้พระไวยจึงต้องยกทัพไปและต่อสู้กับพลายชุมพล ระหว่างที่กำลังต่อสู้กัน ขุนแผนบอกให้พลายชุมพลจับตัวพระไวยไว้ พระไวยเห็นพ่อก็ตกใจหนีกับไปฟ้องสมเด็จพระพันวษาพระองศ์จึงให้นางศรีมาลาไปรับตัวขุนแผนกับพลายชุมพลเข้าวัง พลายชุมพลอาสาจับเสน่ห์ โดยขอหมื่นศรีไปเป็นพยานด้วย พลายชุมพลจับตัวเถรขวาดกับเณรจิ๋วไว้ แล้วขุดรูปปั้นลงอาคมที่ฝั่งไส้ใต้ดินขึ้นมาได้เสน่ห์จึงคลาย ตกดึกเถรขวาดกับเณรจิ๋วสะเดาะโซ่ตรวนหนีไป ในการไต่สวนคดีนางสร้อยฟ้า ไม่ยอมรับว่าเป็นคนทำเสน่ห์ และใส่ร้ายว่านางศรีมาลาเป็นชู้กับพลายชุมพล พอนางจับได้พลายชุมพลก็หนีไปยุยงขุนแผน ในที่สุดก็มีการพิสูจน์ความบริสุทธิ์โดยการลุยไฟนางสร้อยฟ้าแพ้ถูกไฟลวกจนพุพอง ส่วนนางศรีมาลาไม่เป็นอะไรเลย สมเด็จพระพันวษาสั่งประหารนางสร้อยฟ้า แต่นางศรีมาลาช่วยขออภัยโทษให้ จึงเพียงถูกเนรเทศกลับไปอยู่ที่เชียงใหม่เช่นเดิม ระหว่างเดินทางก็พบเถรขวาดกับเณรจิ๋ว จึงเดินทางไปด้วยกัน กลับถึงเชียงใหม่ได้ไม่นานกนางก็ให้กำเนิดลูกชาย ชื่อ พลายยง ส่วนนางศรีมาลาก็คลอดลูกชายเช่นกัน ขุนแผนตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร
พระเจ้าเชียงอินทร์ ตั้งเถรขวาด เป็นพระสังฆราชเพื่อตอบแทนความดีความชอบที่พานางสร้อยฟ้าที่กลับบ้านเมืองได้อย่างปลอดภัย แต่เถรขวาดยังแค้นพลายชุมพล จึงเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา แปลงเป็นจระเข้อาละวาดฆ่าคนและสัตว์เลี้ยงไปมากมาย พลายชุมพลจึงอาสาออกปราบจระเข้จนสำเร็จ ไดตัวเถรขวาดมาประหารชีวิต พลายชุมพลได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงนายฤทธิ์ นับจากนั้นเป็นตนมาทุกคนก็อยู่กันอย่างมีความสุข
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีเเละศรีสุวรรณออกจากวัง
แต่ปางหลังยังมีกรุงกษัตริย์
สมมุติวงศ์ทรงนามท้าวสุทัศน์
ผ่านสมบัติรัตนานามธานี
อันกรุงไกรใหญ่ยาวเก้าสิบโยชน์
ภูเขาโขดเป็นกำแพงบูรีศรี
สพรึบพร้อมไพร่ฟ้าประชาชี
ชาวบูรีหรรษาสถาวร
มีเอกองค์นงลักษณ์อรรครราช
พระนางนาฏนามประทุมเกสร
สนมนางแสนสุรางคนิกร
ดังกินนรน่ารักลักขณา
มีโอรสสององค์ล้วนทรงลักษณ์
ประไพพักตรเพียงเทพเลขา
ชื่ออภัยมณีเป็นพี่ยา
พึ่งแรกรุ่นชัณษาสิบห้าปี
อันกุมารศรีสุวรรณนั้นเป็นน้อง
เนื้อดังทองนพคุณจำรุญศรี
พึ่งโสกันต์ชัณษาสิบสามปี
พระชนนีรักใคร่ดังไนยนา ๚
พระอภัยมณีเป็นโอรสองค์ใหญ่ของท้าวสุทัศน์กษัตริย์เมืองรัตนา
มีพระอนุชาชื่อศรีสุวรรณ ทั้งสองเป็นเจ้าชายรูปงามน่ารักใคร่
ทั้งสองจากบ้านเมืองไปเรียนวิชาจากทิศาปาโมกข์ เยี่ยงลูกกษัตริย์ทั้งหลาย
พระอภัยมณีเรียนวิชาเป่าปี่ได้เป็นเอก อานุภาพของปี่นั้นพระอาจารย์บอกว่า
ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ
จะรบรับสารพัดให้ขัดสน
เอาปี่ป่าเล้าโลมน้ำใจคน
ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ
คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส
เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร
ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ
จึงคิดอ่านเอาไชยเหมือนใจจง ๚
ส่วนศรีสุวรรณเลือกเรียนวิชากระบี่กระบองจนเป็นเลิศเช่นกัน
ท้าวสุทัศน์ทราบเรื่องก็โกรธมาก ขับไล่พี่น้องทั้งสองออกจากเมืองไป
เจ้าชายทั้งสองตกใจมากจนสลบต่อหน้าพระที่นั่ง เมื่อฟื้นมาก็รีบออกจากเมือง
เผื่อพบพานบ้านเมืองที่ไหนมั่ง
พอประทังกายาอยู่อาไศรย
มีความรู้อยู่กับตัวกลัวอะไร
ชีวิตไม่ปลดลงคงได้ดี ๚
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)