วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

รามเกียรติ์ฉบับต่างๆ ของไทย

       วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย มีหลักฐานเก่าที่สุดคือราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้
  • รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน เนื่องเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชา ถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  • รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่ "พระรามประชุมพล" จนถึง "องคตสื่อสาร" น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี ระบบ "วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก" ตรงกับ พ.ศ. 2323 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาล มีด้วยกัน 4 ตอน ได้แก่
    • ตอน 1 ตอนพระมงกุฎ
    • ตอน 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
    • ตอน 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
    • ตอน 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
  • รามเกียรติ์คำพากย์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 4
  • รามเกียรติ์คำพากย์และบทเจรจา พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงค้นคว้าหาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้นมา และยังทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์สำหรับใช้แสดงโขนขึ้นอีก 6 ชุด คือชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ ซึ่งบทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ทรงดำเนินเรื่องตามคัมภีร์รามายณะ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงโขนจึงมีบทพากย์และเจรจาอยู่ตามความเหมาะสมของการแสดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น