ฝ่ายพระราม ( มเหศรพงศ์ และ วานรพงศ์ )
ฝ่ายทศกัณฐ์ และพันธมิตร ( อสุรพงศ์)
วรรณคดีไทย
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554
รามเกียรติ์ฉบับต่างๆ ของไทย
วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย มีหลักฐานเก่าที่สุดคือราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้
- รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน เนื่องเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชา ถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่ "พระรามประชุมพล" จนถึง "องคตสื่อสาร" น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
- รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี ระบบ "วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก" ตรงกับ พ.ศ. 2323 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาล มีด้วยกัน 4 ตอน ได้แก่
- ตอน 1 ตอนพระมงกุฎ
- ตอน 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
- ตอน 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
- ตอน 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย
- รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1
- รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
- รามเกียรติ์คำพากย์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
- รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 4
- รามเกียรติ์คำพากย์และบทเจรจา พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงค้นคว้าหาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้นมา และยังทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์สำหรับใช้แสดงโขนขึ้นอีก 6 ชุด คือชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ ซึ่งบทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ทรงดำเนินเรื่องตามคัมภีร์รามายณะ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงโขนจึงมีบทพากย์และเจรจาอยู่ตามความเหมาะสมของการแสดง
กาพย์เห่เรือ
คำประพันธ์
กาพย์เห่เรือนั้น ใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ กาพย์ยานี 11 และโคลงสี่สุภาพ เรียงร้อยกันในลักษณะที่เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง โดยมักขึ้นต้นด้วยโคลง 1 บท แล้วตามด้วยกาพย์ยานี เรื่อยไป จนจบตอนหนึ่งๆ เมื่อจะขึ้นตอนใหม่ ก็จะยกโคลงสี่สุภาพมาอีกหนึ่งบท แล้วตามด้วยกาพย์จนจบตอน เช่นนี้สลับกันไป
กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกากี
สันนิษฐานกันว่ากาพย์เห่เรือ เดิมคงจะแต่งเพื่อขับเห่กันเมื่อเดินทางไกลในแม่น้ำลำคลอง แต่ในภายหลังคงมีแต่เจ้านายหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง และสุดท้ายมีใช้แต่ในกระบวนเรือของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
กาพย์เห่เรือไม่สู้จะนิยมประพันธ์กันมากนัก เนื่องจากถือเป็นคำประพันธ์สำหรับใช้ในพิธีการ คือ ในกระบวนเรือหลวง หรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ไม่นิยมใช้ในพิธีหรือสถานการณ์อื่นใด การแต่งกาพย์เห่เรือจึงมักแต่งขึ้นสำหรับที่จะใช้เห่เรือจริงๆ ซึ่งในแต่ละรัชกาล มีการเห่เรือเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
กาพย์เห่เรือนั้น ใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ กาพย์ยานี 11 และโคลงสี่สุภาพ เรียงร้อยกันในลักษณะที่เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง โดยมักขึ้นต้นด้วยโคลง 1 บท แล้วตามด้วยกาพย์ยานี เรื่อยไป จนจบตอนหนึ่งๆ เมื่อจะขึ้นตอนใหม่ ก็จะยกโคลงสี่สุภาพมาอีกหนึ่งบท แล้วตามด้วยกาพย์จนจบตอน เช่นนี้สลับกันไป
กาพย์เห่เรือที่เก่าแก่ที่สุด ที่พบในเวลานี้ คือ กาพย์เห่เรือในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลาย ทรงแต่งไว้ 2 เรื่อง คือบทเห่ชมเรือ ชมปลา ชมไม้ และชมนก มีลักษณะเป็นเหมือนนิราศ กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องกากี
สันนิษฐานกันว่ากาพย์เห่เรือ เดิมคงจะแต่งเพื่อขับเห่กันเมื่อเดินทางไกลในแม่น้ำลำคลอง แต่ในภายหลังคงมีแต่เจ้านายหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง และสุดท้ายมีใช้แต่ในกระบวนเรือของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น
กาพย์เห่เรือไม่สู้จะนิยมประพันธ์กันมากนัก เนื่องจากถือเป็นคำประพันธ์สำหรับใช้ในพิธีการ คือ ในกระบวนเรือหลวง หรือกระบวนพยุหยาตราชลมารค ไม่นิยมใช้ในพิธีหรือสถานการณ์อื่นใด การแต่งกาพย์เห่เรือจึงมักแต่งขึ้นสำหรับที่จะใช้เห่เรือจริงๆ ซึ่งในแต่ละรัชกาล มีการเห่เรือเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น
วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554
บางตอนจากสมุทรโฆษคำฉันท์
พระสมุทรโฆษและนางพินทุมดีเสด็จป่าหิมพานต์
บรรพตรจเรขประไพ | ช่องชั้นไฉไล | |
คือช่างฉลุเลขา |
วุ้งเวิ้งเพิงตระพักเสลา | หุบห้องคูหา | |
แลห้วงแลห้วยเหวลหาร |
พุน้ำชำเราะเซาะธาร | ไหลลั่นบันดาล | |
ดั่งสารพิรุณธารา |
เงื้อมง้ำโชงกชง่อนภูผา | พึงพิศโสภา | |
เปนชานเปนช่องปล่องปน |
สีสลับยยับพรรณอำพน | เหลืองหลากกาญจน | |
แลขาวคือเพชรรัศมีฯ |
เนื้อหา เรื่อง ลิลิตพระลอ
ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ
เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแม้นสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร
กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนมาว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีสวรรคต เจ้าย่าจึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์(หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก)เพื่อให้พระลอมาที่นี่แล้วให้ ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหาปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครอง ราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่า เดิมเพื่อทูลเตือนให้กลับไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันพรุ่งนี้
พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง
เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด
เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า "หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี.....ร้อยปีหรือพันปี.... ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง...ไปสู่อีปากหนึ่ง...ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน... แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึกชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่าให้อ่าบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี....บางครา....ท่านอาจเห็ใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว" หลังจากข้อความนี้ก็ได้เล่าความเป็นมาทั้งหมด
กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก
จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ
เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแม้นสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร
กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนมาว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีสวรรคต เจ้าย่าจึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์(หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก)เพื่อให้พระลอมาที่นี่แล้วให้ ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหาปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครอง ราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่า เดิมเพื่อทูลเตือนให้กลับไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันพรุ่งนี้
พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง
เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด
เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า "หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี.....ร้อยปีหรือพันปี.... ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง...ไปสู่อีปากหนึ่ง...ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน... แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึกชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่าให้อ่าบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี....บางครา....ท่านอาจเห็ใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว" หลังจากข้อความนี้ก็ได้เล่าความเป็นมาทั้งหมด
กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก
จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ
บทร้อยกรองบางตอนจากลิลิตพระลอ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง | อันใด พี่เอย |
เสียงย่อมยอยศใคร | ทั่วหล้า |
สองเขือพี่หลับใหล | ลืมตื่น ฤๅพี่ |
สองพี่คิดเองอ้า | อย่าได้ถามเผือฯ |
วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554
นิราศเมืองแกลง
เนื้อหาโดยย่อ และเส้นทางการเดินทาง
ปีพ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต สุนทรภู่ซึ่งถูกจองจำอยู่เหตุจากการลอบรักใคร่กับแม่จัน จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นการถวายพระกุศล สุนทรภู่เขียนในส่วนขึ้นต้นของนิราศว่า
สุนทรภู่กับน้องทั้งสองเดินทางต่อไปอีกจนถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง ได้พบบิดาของตนซึ่งบวชเป็นพระมาตลอดนับแต่สุนทรภู่เกิด สุนทรภู่ได้ถือศีลกินเจอยู่กับบิดาพักหนึ่ง แล้วเกิดล้มป่วยเป็นไข้ ต้องพักรักษาตัวอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเดินทางกลับมาถึงพระนคร
ปีพ.ศ. 2349 หลังจากกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคต สุนทรภู่ซึ่งถูกจองจำอยู่เหตุจากการลอบรักใคร่กับแม่จัน จึงได้รับการปล่อยตัวเป็นการถวายพระกุศล สุนทรภู่เขียนในส่วนขึ้นต้นของนิราศว่า
-
- จะพลัดพรากจากกันไม่ทันลา
- ใช้แต่ตาต่างถ้อยสุนทรวอน
-
- จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย
- แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา
สุนทรภู่กับน้องทั้งสองเดินทางต่อไปอีกจนถึงบ้านกร่ำ เมืองแกลง ได้พบบิดาของตนซึ่งบวชเป็นพระมาตลอดนับแต่สุนทรภู่เกิด สุนทรภู่ได้ถือศีลกินเจอยู่กับบิดาพักหนึ่ง แล้วเกิดล้มป่วยเป็นไข้ ต้องพักรักษาตัวอยู่นานหลายเดือนกว่าจะเดินทางกลับมาถึงพระนคร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)